การบันทึกอนุทินครั้งที่2 วันอังคารที่16มกราคม2561
บทเรียนในวันนี้

เด็กปฐมวัยหมายถึง
เด็กที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6
ปี มีธรรมชาติที่อยากรู้อยากเห็น ช่างสงสัย
ช่างซักถาม ชอบค้นคว้า สำรวจ อยู่ไม่นิ่ง ชอบอิสระเป็นตัวของตัวเอง
เป็นวัยที่กำลังพัฒนาคุณภาพชีวิตทางร่างกาย อารมณ์สังคม และสติปัญญาอย่างเต็มที่
ความสำคัญต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย
จำเป็นต้องได้รับการอบรมเลี้ยงดูและการเรียนรู้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับวัยด้วยการจัดประสบการณ์และการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้เด็กได้พัฒนาตามศักยภาพของตน เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคตเป็นคนดี คนเก่ง มีความสุขและเติบโตเป็นพลเมืองที่ดีมีคุณภาพสามารถดำรงวิถีชีวิตในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจยุคใหม่ได้อย่างรู้เท่าทัน
จำเป็นต้องได้รับการอบรมเลี้ยงดูและการเรียนรู้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับวัยด้วยการจัดประสบการณ์และการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้เด็กได้พัฒนาตามศักยภาพของตน เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคตเป็นคนดี คนเก่ง มีความสุขและเติบโตเป็นพลเมืองที่ดีมีคุณภาพสามารถดำรงวิถีชีวิตในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจยุคใหม่ได้อย่างรู้เท่าทัน
ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
• ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
•
ไม่รู้ว่าความคิดความรู้สึกของตนต่างไปจากของผู้อื่น
• ชอบเลียนแบบบุคคลที่ตนรัก
หรือตนสนใจ
• มีความอยากรู้อยากเห็นสูง
•
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์กับสิ่งที่ตนเองเล่น
• มีอารมณ์รุนแรง
มีความอิจฉาริษยาสูง
•
พยายามเรียนรู้การปรับตัวเข้ากับเพื่อนเล่น
• ต้องการการยอมรับจากผู้ใหญ่
แสวงหารางวัลด้วยการกระทำ
ความหมายของพัฒนาการ
พัฒนาการหมายถึงการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ที่เป็นไปอย่างมีลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่องเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาซึ่งมีความสัมพันธ์ระหว่าง เวลา วุฒิภาวะ
การเรียนรู้ และสิ่งแวดล้อม
อันส่งผลให้มนุษย์มีความสามารถและพฤติกรรมที่แตกต่างกัน และเป็นไปตามศักยภาพ
ลักษณะของพัฒนาการ
1.
พัฒนาการเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน
2.
การพัฒนาจะมีทิศทางของพัฒนาการที่แน่นอน
1)
พัฒนาการเริ่มจากส่วนบนไปสู่ส่วนล่าง (cephalo - caudaldirection)
2) พัฒนาการเริ่มจากแกนกลางของลำตัว
ไปสู่อวัยวะส่วนข้างที่ไกลออกไป (proximo
distal direction)
3) พัฒนาการของมนุษย์จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอนไม่มีการข้ามขั้น
4)
อัตราพัฒนาการของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับองค์ประกอบใหญ่ ๆ 2 ชนิด คือ พันธุกรรม
และสภาพแวดล้อม
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย
![]() |
1. อาหาร |
![]() |
2. อากาศที่บริสุทธิ์และแสงแดด |
![]() |
8. ตำแหน่งในครอบครัว |
พัฒนาการของเด็กปฐมวัยตั้งแต่ปฏิสนธิถึง
6 ขวบ
ความต้องการของเด็กปฐมวัย
พัฒนาการตามวัยของเด็กปฐมวัย
พัฒนาการของเด็กปฐมวัยตั้งแต่แรกเกิดถึง
6 ขวบ
การเจริญเติบโตของเด็กแรกเกิดถึง
6 ขวบ
การเจริญเติบโตของทารกตั้งแต่ปฏิสนธิถึงแรกเกิดของเด็กปฐมวัย
การปฏิสนธิ
การปฏิสนธิ คือ การผสมของอสุจิซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์ของพ่อ กับเซลล์ของแม่คือไข่รวมเป็นเซลล์เดียวกันเกิดการปฏิสนธิ(Conception)
เกิดเป็นเซลล์เล็กกว่าไข่ใบเดิมมีขนาด 0.15 มิลลิเมตร ซึ่งเล็กกว่าจุด
นั่นคือจุดเริ่มต้นของชีวิต
![]() |
บรรยากาศในห้องเรียน |
หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้ชมคลิปวีดีโอ การปฏิสนธิ-การคลอด
-ได้เรียนรู้ถึงความสำคัญของเด็กปฐมวัย
-ได้รู้ถึงธรรมชาติและพัฒนาการในด้านต่างๆของเด็กปฐมวัย
-ได้รู้ถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย
-ได้รู้ถึงกาารปฏิสนธิและการคลอดบุตรจากการชมคลิป
ประเมินตนเองวันนี้ดิฉันตั้งใจฟังอาจารย์พูดถึงเนื้อหาและชมคลิปวิดีโออย่างใจจดใจจ่อ สำหรับการเรียนวันนี้สนุกและได้ความรู้เป็นอย่างมาก
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆส่วนมากตั้งใจเรียนกันเป็นอย่างดี อาจมีบางส่วนคุยกันเสียงดังบ้าง
ประเมินอาจารย์อาจารย์สอนค่อนข้างเข้าใจง่าย มีภาพและคลิกวิดีโอประกอบ ทำให้การเรียนเห็นภาพชัดเจนและยังสนุกอีกค่ะ
นางสาวดวงกมล สิทธิฤทธิ์ ผู้บันทึก
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น