การบันทึกอนุทินครั้งที่3 วันอังคารที่23มกราคม2561
บทเรียนในวันนี้
เรียนเรื่อง

ทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ซิกมันด์

ทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์พัฒนาการบุคลิกภาพของคนขึ้นอยู่กับการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานทางด้านสรีระหรือที่เขาเรียกว่าแรงขับโดยสัญชาติญาณแรงขับโดยสัญชาติญาณ
แรงขับ ดังกล่าวมี 3 ประเภท
ได้แก่ แรงขับทางเพศหรือความต้องการตอบสนองทางเพศ (libido)
แรงขับหรือความต้องการที่จะมีชีวิตอยู่ (life-preserving drive)
และแรงขับหรือความต้องการที่จะแสดงความก้าวร้าว(aggressive drive)
โครงสร้างหลักของบุคลิกภาพ
อิด (Id)
หมายถึง พลังหรือแรงผลักที่มีมาแต่กำเนิด เป็นสันดานดิบของมนุษย์ที่มีแต่ความต้องการสนองสนองแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงสิ่งใด ฟรอยด์เห็นว่าแรงผลักชนิดนี้มีอยู่ในทารก
อีโก้ (Ego) เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างบุคลิกภาพที่ได้มีการคิดรวบรวมข้อมูลต่างๆ และมีการวางแผน การรู้จักรอคอย ร้องขอหรืออื่น ๆ เพื่อให้ได้รับการตอบสนองในสิ่งที่ต้องการ
ซุปเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นส่วนของบุคลิกภาพที่คอยควบคุมหรือปรับการแสดงออกของอิดและอีโก้ให้สอดคล้องกับเหตุผลความถูกผิด คุณธรรมหรือจริยธรรม
ขั้นตอนของพัฒนาการด้านบุคลิกภาพ
ขั้นที่ 1 ขั้นปาก (Oral Stages) อายุแรกเกิด –18 เดือน
ขั้นที่ 2 ขั้นทวารหนัก (Anal Stage) เป็นระยะพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กวัย 2 – 3 ปี
ขั้นที่ 3 อวัยวะเพศขั้นต้น (Phallic Stage) เป็นระยะพัฒนาการบุคลิกภาพของวัย 3 – 5 ปี
ขั้นที่ 4 ขั้นพัก/ขั้นแฝง (Latency Stage) เป็นระยะพัฒนาบุคลิกภาพของวัย 5 – 12 ปี
ขั้นที่ 5 ขั้นอวัยวะเพศ (Genital Stage) เป็นระยะสนใจเพศตรงข้าม วัยรุ่น วัยหนุ่มสาว 12 ปี ขึ้นไป
ทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตสังคมของอีริคสันอีริค
อีริคสัน (Erik
H. Erikson) เป็นนักจิตวิทยา พัฒนาการที่มีชื่อเสียงและให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากมีแนวคิดว่าวัยเด็กเป็นวัยที่สำคัญและพร้อมเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตสังคมของอีริคสันวัยเด็กเป็นวัยที่สำคัญและพร้อมเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัว หากประสบการณ์และสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กดี เด็กจะมองโลกในแง่ดี มีความเชื่อมั่นในตนเองในทางตรงกันข้ามหากประสบการณ์และสภาพแวดล้อมไม่ดีไม่เอื้อหรือส่งเสริมต่อการเรียนรู้ของเด็ก
เด็กจะกลายเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย ไม่ไว้วางใจผู้อื่น
ขาดความเชื่อมั่นในตนเองขั้นพัฒนาการตามทฤษฎีของอีริคสัน

ขั้นที่ 2 ความรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง กับความละอายใจและไม่แน่ใจ (Autonomy versus Doubt or Shame) ช่วง 1 – 2 ปี
ขั้นที่ 3 การมีความคิดริเริ่มกับความรู้สึกผิด (Initiativeversus Guilt) ช่วง 3 – 6 ปี
ทฤษฎีวุฒิภาวะของกีเซล(Arnold
Gesell)
เป็นนักจิตวิทยาที่มีความเชื่อในเรื่องของความเจริญเติบโตตามวุฒิภาวะ
โดยกล่าวว่า
“วุฒิภาวะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่างมีระเบียบ
โดยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสิ่งเร้าภายนอก”ทฤษฎีวุฒิภาวะของกีเซล
“วุฒิภาวะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่างมีระเบียบโดยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสิ่งเร้าภายนอก” กีเซลเชื่อว่าพฤติกรรมของเด็กจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยา ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมขึ้น การฝึกฝนหรือการเรียนรู้ไม่ว่าลักษณะใดก็ตาม จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์และเป็นการเสียเวลาโดยใช่เหตุ ถ้าหากร่างกายยังไม่พร้อมหรือยังไม่มีวุฒิภาวะ
ทฤษฎีพัฒนาการด้านการรู้คิดของเพียเจท์
ฌอง เพียเจท์ (Jean
Piaget) นักจิตวิทยาชาวสวิส
ได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กและพัฒนาการทางสติปัญญาทฤษฎีพัฒนาการด้านการรู้คิดของเพียเจท์พัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กและพัฒนาการทางสติปัญญา ตามแนวความคิดของเพียเจท์ ได้อธิบายถึงพัฒนาการทางความคิดและสติปัญญาในความเห็นของเขาว่า บุคคลสามารถคิด
ดัดแปลงความคิดและแสดงความคิดของตนออกมาได้ย่อมเป็นผลมาจากขบวนการปรับเข้าสู่โครงสร้าง (assimilation)
และการจัดปรับขยายโครงสร้าง (accommodation)
โดยผลของการทำงานดังกล่าวจะเกิดเป็นโครงสร้างขึ้น (schema)แนวความคิดเกี่ยวกับขบวนการปรับเข้าสู่โครงสร้างและการจัดปรับขยายโครงสร้าง
Assimilation หมายถึง การที่เด็กนำเอาสิ่งที่ตนรับรู้ใหม่ๆ เข้าไปผสมผสานกลมกลืนกับความรู้เดิมที่มีอยู่ ซึ่งการรับรู้นี้จะเกิดขึ้นเมื่อเด็กมองเห็นสิ่งใหม่ในแง่ของสิ่งเดิมที่เคยรู้จัก
Accommodation หมายถึง การนำความรู้ใหม่ที่ได้รับไปปรับปรุงความคิดให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม
ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก
ลอเรนซ์ โคลเบิร์ก(Lowrence
Kohlberg)เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกันได้ศึกษาค้นคว้าทางด้านพัฒนาการทางจริยธรรมซึ่งได้รับอิทธิพลความคิดและผลงานมาจากเพียเจท์ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กโดยโคลเบอร์กเห็นด้วยว่าพัฒนาการทางการคิดเป็นพื้นฐานของพัฒนาการทางจริยธรรมเช่นเดียวกับเพียเจท์ซึ่งพัฒนาการทางจริยธรรมของบุคคลจะมีลำ ดับขั้นเช่นเดียวกับพัฒนาการด้านอื่นๆและมีแนวคิดว่าพัฒนาการทางจริยธรรมของแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันและมีระยะเวลาของการพัฒนาในแต่ละขั้นต่างกัน
ขั้นพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์ก
ระดับขั้นที่ 1 Premoral หรือ Preconventionalวัย 2 – 10 ปี
มี 2 ระยะ
ระยะที่ 1 การหลบหลีกการถูกลงโทษ ช่วงอายุ 2 – 7 ปี
ระยะที่ 2 การแสวงหารางวัล ช่วงอายุ 7 – 10 ปี
ทฤษฎีพัฒนาการทางความคิดความเข้าใจของบรุนเนอร์เจอโรม

โดยอาศัยแนวคิดของเพียเจท์เป็นหลักพัฒนาการทางความคิดความเข้าใจ เกิดจากสิ่งต่อไปนี้
1. การให้เด็กทำสิ่งต่างๆ อย่างมีอิสระมากขึ้น

3. พัฒนาการทางความคิด
4. ผู้สอนและผู้เรียนมีความสัมพันธ์กันอย่างมีระบบ
5. ภาษาเป็นกุญแจของการพัฒนาด้านความคิด
6.การพัฒนาทางความคิด
พัฒนาการทางสติปัญญาและการคิดของมนุษย์แบ่งเป็น 3 ขั้น ดังนี้ 1. Enactive Stage 2. Iconic representation Stage 3. Symbolic representation stage
ลำดับขั้นการสอนอย่างมีเหตุผล
ขั้นที่ 1 การสอนควรเริ่มด้วยการให้ผู้เรียนสัมผัสสิ่งต่าง ๆ ที่เรียน
ขั้นที่ 2 การสอนควรเน้นให้เด็กเกิดการพัฒนาขึ้นเพื่อให้เด็กได้รับรู้อย่างแจ่มแจ้ง ครูควรเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์หรือเลือกเหตุการณ์ที่เด่นชัดและเป็นรูปธรรมมากกว่านามธรรม
ขั้นที่ 3 จัดให้มีการอภิปรายระหว่างเด็กในกลุ่มที่เรียนร่วมกันเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆเนื้อหาที่เรียนเพื่อให้เด็กใช้ภาษาและเกิดการพัฒนาขั้นรูปธรรม
![]() |
บรรยากาศในห้องเรียน |
จากนั้นอาจารย์บาสได้เปิดคลิปวิดีโอของรายการฟ้ามีตา ตอน ลูกเราน่ารักที่สุดเลย
และหลังจากชมคลิปให้นักศึกษาทุกคนช่วยกันออกความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวละครแต่ละคนว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไร สิ่งที่ตัวละครแสดงออกมานั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่

ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น